หัวข้อ   “ รัฐบาลกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบี อาร์ เอ็น ”
 
                 ด้วยวันที่ 13 มิถุนายนที่จะถึงนี้ รัฐบาลจะมีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม
บี อาร์ เอ็น เป็นครั้งที่ 3 เพื่อสานต่อการเดินหน้าเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาความ
ไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “รัฐบาลกับการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม
บี อาร์ เอ็น
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใน 4 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา เมื่อวันที่ 6-7 มิถุนายน
ที่ผ่าน พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 หลังจากที่รัฐบาลได้มีการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบี อาร์ เอ็น มาแล้ว
2 ครั้ง พี่น้องชายแดนใต้ ร้อยละ 61.0 เห็นว่าเหตุการณ์ความไม่สงบมีความ
รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
  ร้อยละ 36.3 เห็นว่ามีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา
และมีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้นที่เห็นว่ามีความรุนแรงลดลง
 
                 ทั้งนี้ในการเจรจาพูดคุยสันติภาพทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา พี่น้องชายแดน
ใต้ร้อยละ 78.9 เห็นว่ากลุ่ม บี อาร์ เอ็น มีความได้เปรียบในการเจรจามากกว่า

ขณะที่ ร้อยละ 21.1 เห็นว่า รัฐบาลได้เปรียบมากกว่า
 
                 เมื่อถามถึงความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล
พี่น้องชายแดนใต้ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 ระบุว่า รัฐบาลไม่จริงจังในการแก้ปัญหา  ขณะที่ร้อยละ 38.4 ระบุว่า รัฐบาล
มีความจริงจัง
 
                 สำหรับความรู้สึกต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพกับกลุ่ม บี อาร์ เอ็น พบว่า พี่น้องชายแดนใต้
ร้อยละ ร้อยละ 72.6 รู้สึกกลัวและกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น
  มีเพียงร้อยละ 27.4 ที่รู้สึกอุ่นใจและเห็น
สัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น
 
                  อย่างไรก็ตามพี่น้องชายแดนใต้ร้อยละ 54.4 ยังคงสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่าง
รัฐบาลไทยกับกลุ่ม บี อาร์ เอ็น ต่อไป
  ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่าควรยุติการพูดคุย เจรจาได้แล้ว
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากที่ได้เจรจา
                 มาแล้ว 2 ครั้ง


 
ร้อยละ
มีความรุนแรงเหมือนกับก่อนการเจรจา
36.3
มีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
61.0
มีความรุนแรงลดลง
2.7
 
 
             2. ความเห็นเกี่ยวกับความได้เปรียบ เสียเปรียบ จากการเจรจามาแล้ว 2 ครั้ง

 
ร้อยละ
รัฐบาลได้เปรียบมากกว่า
21.1
กลุ่ม บี อาร์ เอ็น ได้เปรียบมากกว่า
78.9
 
 
             3. ความจริงจังในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล

 
ร้อยละ
จริงจัง
38.4
ไม่จริงจัง
61.6
 
 
             4. ความรู้สึกของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการที่รัฐบาลส่งตัวแทนมาพูดคุยสันติภาพ
                 กับกลุ่ม บี อาร์ เอ็น

 
ร้อยละ
รู้สึกอุ่นใจและเห็นสัญญาณความสงบที่ใกล้จะเกิดขึ้น
27.4
รู้สึกกลัวและกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น
72.6
 
 
             5. ความเห็นต่อการสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่ม บี อาร์ เอ็น ต่อไป

 
ร้อยละ
สนับสนุนให้มีการเจรจาต่อไป
54.4
พอ / ยุติการพูดคุย เจรจาได้แล้ว
45.6
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับการพูดคุยสันติภาพระหว่าง
รัฐบาลกับกลุ่มบี อาร์ เอ็น ความรุนแรงของเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้หลังผ่านการพูดคุยมาแล้ว 2 ครั้ง ความ
จริงจังในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ตลอดจนการสนับสนุนให้มีการพูดคุยสันติภาพต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับ
ทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาตใต้
ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา ด้วยวิธีการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 409 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 และเพศหญิงร้อยละ 50.4

 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มี
โครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  6 - 7 มิถุนายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 มิถุนายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
203
49.6
             หญิง
206
50.4
รวม
409
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
39
9.5
             26 – 35 ปี
64
15.6
             36 – 45 ปี
66
16.1
             46 ปีขึ้นไป
240
58.8
รวม
409
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
263
64.3
             ปริญญาตรี
128
31.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
18
4.4
รวม
409
100.0
อาชีพ:    
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
58
14.2
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
22
5.4
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
142
34.7
             รับจ้างทั่วไป
40
9.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
98
24.0
             นักศึกษา
20
4.9
             เกษตรกร
20
4.9
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
9
2.1
รวม
409
100.0
ศาสนา:    
             พุทธ
319
78.1
             อิสลาม
86
20.9
             อื่นๆ อาทิ คริสต์ ฮินดู เป็นต้น
4
1.0
รวม
409
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776